การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด

การวางแผนทางทันตกรรมจัดฟัน   ในกรณีที่มีความผิดปกติ  เฉพาะส่วน

ของการเรียงตัวของฟัน เช่น    ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันหาย สามารถแก้ไขด้วย

การจัดฟัน เพียงอย่างเดียว    แต่ ในกรณีที่มีความผิดปกติในส่วน

ของกระดูก ขากรรไกรบน และ/หรือ ขากรรไกรล่างร่วมด้วย  เช่น ฟันบนยื่น

มาก  คางยื่นมาก   ฟันกัดกันไม่ได้  ในกรณีเหล่านี้  จำเป็นต้องวางแผนการ

รักษาร่วมกันระหว่าง ทันตแพทย์จัดฟัน และทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปาก

ซึ่งก็คือ  จัดฟันร่วมกับการผ่าตัด โดยทันตแพทย์ทั้งสองสาขาจะวางแผน

การรักษาร่วมกัน  โดยมีขั้นตอนการรักษาดังนี้


 

1. จัดฟันก่อนผ่าตัด  (เนื่องจากในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก การเรียงตัวของฟันอาจผิดปกติเช่น  ยื่นมาก 

     งุ้มมาก  ซ้อนเกมาก)  ระยะเวลาการรักษาประมาณ 1-2ปี

2. ขั้นตอนการผ่าตัดโดย  ทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปาก     ขั้นตอนนี้ทำในห้องผ่าตัด มีระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 7-10 วัน

    (ขั้นตอนนี้ ทันตแพทย์ผ่าตัดจะแก้ไขส่วนของโครงสร้างกระดูกที่ผิดปกติให้ปกติ)

3. จัดฟันหลังการผ่าตัด  ขั้นตอนนี้ เพื่อแก้ไขรายละเอียดในส่วนการเรียงตัวของฟัน  การสบฟัน ใช้เวลาประมาณ 1 ปีค่ะ

    ในกรณีที่แพทย์วางแผนว่าควรผ่าตัด ก็ควรผ่าค่ะ  เพื่อแผนการรักษาที่ดี รูปร่างใบหน้า และการสบฟันดีขึ้นค่ะ

    การผ่าตัดจะทำในคนไข้ที่หมดการเจริญเติบโตของโครงสร้างกระดูกแล้ว ในผู้ชาย เริ่มที่อายุประมาณ 20 ปี 

    ในผู้หญิงเริ่มที่ประมาณ 18 ปี 

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าอย่างเด่นชัด


  • การจัดฟัน คือ การทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ กำหนด โดยอาศัยแรงจากเครื่องมือจัดฟันซึ่งอาจเป็นเครื่องมือชนิดถอดได้หรือชนิดติดแน่น เครื่องมือจะสัมผัสกับผิวฟันด้านนอกหรือด้านใน เพ...

  • โดยทั่วไปแล้ว มักจัดฟันในช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นครบ คือ อายุประมาณ 12-15 ปี อย่างไรก็ตาม การให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน นั้นมีหลายช่วงอายุ ซึ่งต้องพิจารณาตามความผิดปกติและพัฒนาการ ...

  • ปัจจุบันเมื่อเข้ารับการรักษาทันตกรรมจัดฟัน ผู้เข้ารับการรักษามักคาดหวัง กับรูปร่างของใบหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น เช่น อยากให้หน้าเรียว แต่ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันนั้น ...

  • ในบางครั้ง การจัดฟันต้องอาศัยเครื่องมือนอกปาก เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพิ่มหลักยึดในการดึงฟัน เช่น การใช้ Head gear เพื่อเพิ่มหลักยึดใน การดึงฟันบน 2. กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญ...
Visitors: 110,744